Downloading...

เพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ด้วยอินดิเคเตอร์ใหม่ในตัวคัดกรองหุ้น

Jun 26, 2024

ตอนนี้ ตัวคัดกรองหุ้น มีอินดิเคเตอร์ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับการวิเคราะห์เชิงลึกและการเลือกหุ้น อินดิเคเตอร์ที่เพิ่มเติมเข้ามาเหล่านี้ประกอบด้วยอัตราส่วนผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดการจัดการเงินทุนและหนี้ อินดิเคเตอร์แสดงการเติบโตตัวใหม่ และตัวชี้วัดหลักทรัพย์อีกหนึ่งตัว มาดูรายการอินดิเคเตอร์ในแต่ละกลุ่มและดูว่าอินดิเคเตอร์เหล่านั้นสามารถช่วยในการวิเคราะห์ของคุณได้อย่างไร:

กำไรและอัตราส่วน

ในบรรดาอินดิเคเตอร์ที่เราเพิ่มเติมเข้ามาล่าสุด มีอินดิเคเตอร์ที่ประเมินประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร (เช่น สินทรัพย์ ทุนจดทะเบียน) ในการสร้างผลกำไร ดังนี้:

  • Return on tangible equity (ROTE) %: ประเมินว่าบริษัทใช้ทุนจดทะเบียนเพื่อสร้างผลกำไรอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
  • Return on tangible assets %: วัดประสิทธิภาพที่บริษัทสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่มีตัวตน
  • Return on total capital %: วัดผลกำไรที่บริษัททำได้ผ่านโครงสร้างเงินทุน

อินดิเคเตอร์ชุดถัดไปจะประเมินประสิทธิภาพของการใช้หรือหมุนเวียนสินทรัพย์และสินค้าคงเหลือ ดังนี้:

  • Assets turnover: อัตราส่วนนี้วัดยอดขายหรือรายได้ของบริษัทเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ของบริษัท ซึ่งบ่งชี้ว่าบริษัทใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์ที่สูงขึ้นหมายถึงประสิทธิภาพที่มากยิ่งขึ้น
  • Inventory turnover: อัตราส่วนทางการเงินนี้แสดงจำนวนครั้งที่บริษัทหมุนเวียนสินค้าคงเหลือเทียบกับต้นทุนขายสินค้า (Cost of goods sold หรือ COGS) ในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพที่บริษัทใช้สินค้าคงเหลือ.

ด้านล่างนี้เป็นอินดิเคเตอร์ที่ประเมินความสามารถในการชำระภาระหนี้และการจ่ายดอกเบี้ย:

  • Debt to assets ratio: ประเมินสัดส่วนของหนี้สินที่บริษัทมีเทียบกับสินทรัพย์ของบริษัท อัตราส่วนที่สูงบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะล้มละลาย
  • Total debt to capital: บ่งชี้ภาระทางการเงินของบริษัทโดยการนำหนี้สินระยะสั้นและระยะยาวมาหารด้วยเงินทุนทั้งหมด
  • Net debt to EBITDA: แสดงให้เห็นว่าต้องใช้เวลากี่ปีในการชำระหนี้ หากหนี้สุทธิและ EBITDA ยังคงที่ อัตราส่วนที่มีค่าเป็นลบบ่งชี้ว่าบริษัทมีเงินสดมากกว่าหนี้สิน
  • Interest coverage: ประเมินว่าบริษัทสามารถรักษาการจ่ายดอกเบี้ยด้วยรายได้ของบริษัทได้หรือไม่ อัตราส่วนที่สูงบ่งบอกถึงความสามารถในการชำระคืนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยได้ดีขึ้น ในขณะที่อัตราส่วนที่ต่ำชี้ให้เห็นความไม่มั่นคงทางการเงิน
  • EBITDA interest coverage: ประเมินว่าบริษัทสามารถจ่ายดอกเบี้ยของหนี้สินได้ง่ายเพียงใดโดยการนำ EBITDA มาหารด้วยดอกเบี้ยจ่ายของบริษัท
  • EBITDA less capex interest coverage: วัดความสามารถของบริษัทในการจ่ายดอกเบี้ยโดยพิจารณาจาก EBITDA ลบค่าใช้จ่ายในการลงทุน

นอกจากนี้ยังมีอินดิเคเตอร์ที่ประเมินการบริหารจัดการส่วนของผู้ถือหุ้นและผลตอบแทน:

  • Assets to equity ratio:  แสดงอัตราส่วนของสินทรัพย์รวมของบริษัทต่อส่วนที่ผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของ (เงินลงทุนในทุนเรือนหุ้น หรือ Equity capital).
  • Buyback yield %: แสดงจำนวนเงินสดที่บริษัทใช้จ่ายเพื่อซื้อหุ้นสามัญคืนในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยทั่วไปคือในปีที่ผ่านมา หารด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเมื่อเริ่มต้นระยะเวลาการซื้อคืน อัตราส่วนนี้ช่วยให้นักวิเคราะห์สามารถเปรียบเทียบผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนของบริษัทต่างๆ ได้.
  • Cash dividend coverage ratio: คำนวณจำนวนครั้งที่บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นโดยใช้ยอดกำไรสุทธิ.

ข้อมูลหลักทรัพย์

  • Target price: แสดงถึงราคาที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าหุ้นจะไปถึงในอนาคต
  • Target price performance %: ระบุเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างราคาเป้าหมายและราคาปัจจุบัน
  • ISIN (International Securities Identification Number): รหัสสิบสองหลักที่กำหนดให้แต่ละหลักทรัพย์ทั่วโลกโดยไม่ซ้ำกัน หมายเหตุ อินดิเคเตอร์นี้มีให้ใช้งานในรูปแบบคอลัมน์เท่านั้น

การเจริญเติบโต

  • Capital expenditures growth % (Capex growth): อินดิเคเตอร์นี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายของบริษัทในสินทรัพย์ระยะยาว เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำความเข้าใจว่าบริษัทลงทุนเท่าไรในการพัฒนาในอนาคตเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจและความสามารถในการทำกำไร

มีวิธีใช้อินดิเคเตอร์ใหม่กับตัวคัดกรองอย่างไร?

คุณสามารถเพิ่มเมตริกใหม่ลงในตัวคัดกรองเป็นตัวกรองหรือคอลัมน์ก็ได้.

  • การใช้ตัวกรอง: หากต้องการเพิ่มตัวกรอง ให้คลิกปุ่ม + ในแผงที่ด้านบนและเลือกอินดิเคเตอร์ที่คุณต้องการ เมื่อเพิ่มอินดิเคเตอร์แล้ว คุณสามารถเข้าถึงชุดตัวกรองยอดนิยมได้ด้วยการคลิกที่ชุดตัวกรองเหล่านั้น เพื่อนำตัวกรองมาใช้กับตารางโดยอัตโนมัติ สำหรับการตั้งค่าแบบกำหนดเอง ให้เลือก “การตั้งค่าด้วยตนเอง” จากรายการตัวกรองแบบ Drop-down และป้อนเงื่อนไขตัวกรองเฉพาะสำหรับคุณ

  • การใช้คอลัมน์: เพิ่มคอลัมน์ที่มีอินดิเคเตอร์ที่คุณต้องการลงในตารางและจัดเรียงรายการตามที่คุณต้องการ

เราหวังว่าอินดิเคเตอร์ใหม่จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ ช่วยเพิ่มความแม่นยำและความน่าเชื่อถือให้แก่กลยุทธ์ของคุณ โปรดส่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคุณเข้ามา ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มให้ดียิ่งขึ้น

ทีมงาน TradingView

Look first Then leap

TradingView สร้างสรรมาเพื่อคุณ ดังนั้นคุณไม่ควรพลาดประโยชน์จากฟีเจอร์อันเยี่ยมยอดของเรา